วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

วิธีการในการส่งออกสินค้าไปจีน

วิธีการในการส่งออกสินค้าไปจีน


วิธีการในการส่งออกสินค้าไปจีน

> เราจะขายสินค้าอะไร
ในกรณีที่เรามีสินค้าอยู่แล้วนั่นก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่สำหรับผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจหรือยังไม่แน่ใจว่าสินค้าที่มีอยู่ในมือแล้วจะส่งออกไปจีนให้รุ่งได้นั้น ควรเป็นแนวไหน ตรงนี้มีข้อแนะนำคือ สินค้ากลุ่มบริโภคและอุปโภคที่ใช้แล้วหมดไป เพราะจีนมีความต้องการในเรื่องนี้สูงมาก ตั้งแต่ อาหาร ผลไม้ อาหารแห้ง ขนมขบเคี้ยว เครื่องสำอาง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ในครัวเรือน ฯลฯ

> ขอจดทะเบียนตั้งบริษัทในจีน
ที่จริงขั้นตอนนี้ขอไม่ยากนัก เพราะทางการจีนในแต่ละมณฑลค่อนข้างสนับสนุนการเข้ามาลงทุนจากต่างชาติอยู่แล้ว ซึ่งการจดทะเบียนเพื่อตั้งบริษัทก็มีเทคนิคอยู่บ้าง เช่น ขอจดเพื่อตั้งบริษัทในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่นอกเมืองซึ่งจะช่วยเอื้อประโยชน์บ้างด้านได้ เช่น ขอลดภาษี แล้วจึงเข้ามาตั้งสำนักงานสาขาในเขตตัวเมือง เป็นต้น

> ช่องทางจัดจำหน่าย
การหาช่องทางการจัดจำหน่ายเป็นส่วนสำคัญของทุกธุรกิจ ในเมืองจีนและของไทยเองก็มีบริษัทตัวแทนเหล่านี้ให้เลือกใช้บริการ แต่ก็มีข้อควรระวังเรื่องความน่าเชื่อถือซึ่งต้องตรวจสอบให้ละเอียดด้วย โดยเราสามารถหาข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่ง นอกจากผ่านตัวแทนแล้ว การขายผ่านระบบออนไลน์ก็เป็นช่องทางที่สำคัญ โดยเฉพาะถ้าเราเน้นสินค้าขายปลีกหรือจับกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน เพราะพวกเขาสามารถสั่งซื้อสินค้าต่างๆ ผ่าน WeChatpay หรือทาง Taobao ได้ง่ายๆนั่นเอง

> ขั้นตอนขออนุญาตนำเข้า
เป็นเรื่องละเอียดอ่อนและต้องตรวจสอบให้ดี เพราะสินค้าบางประเภทมีจำกัดโควตา แม้ว่าล่าสุดทางการจีนจะลดการจำกัดสินค้านำเข้าเพิ่มเติมแล้วบังคับใช้แล้วในปี 2561 แต่สินค้าบางประเภทก็ยังมีการจำกัดโควตาอยู่ดี มีคำแนะนำคือ ให้เริ่มจากการขออนุญาตสำหรับฉลากสินค้า โดยจะต้องนำไปแปลเป็นภาษาอังกฤษอีกทางหนึ่ง แล้วเราต้องนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากระบุ วันผลิต วันหมดอายุ ส่วนประกอบ เพื่อไปยื่นขอรับรองผลิตภัณฑ์ ไม่ต่างกับการขอรับรอง อาหารและยา (อย.) ของไทยนั่นเอง ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือน จากนั้นนำใบรับรองฉลากไปยื่นขอนำเข้าสินค้าที่ด่านศุลกากร แล้วขั้นตอนสุดท้ายก็จะมีการนำสินค้าไปผ่านการตรวจความปลอดภัย เมื่อเรียบร้อย ก็จะสามารถนำไปวางขายได้ครับ



คุณกำลังมองหา บริษัทส่งออกต่างประเทศ อยู่หรือเปล่า
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บ www.thaitpi.com
บริษัทส่งออก , ส่งสินค้าไปต่างประเทศ

การขนส่งสำหรับการค้าระหว่างประเทศ

ความรู้เรื่อง การขนส่งสำหรับการค้าระหว่างประเทศ


ความรู้เรื่อง การขนส่งสำหรับการค้าระหว่างประเทศ

การขนส่งสำหรับการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันมีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางโลจิสติกส์ ภาครัฐให้การสนับสนุนการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศเพื่อให้เอกชนสามารถบริหารจัดการสินค้าตลอดกระบวนการทั้งการนำเข้าและส่งออกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเป็นการ ส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันสำหรับการค้าระหว่างประเทศการบริการที่ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเสนอให้บริการแก่เจ้าของสินค้ามีตั้งแต่การจัดการเกี่ยว กับเส้นทางการส่งสินค้าและงานพื้นๆ เช่น การจองระวางเรือให้แก่เจ้าของสินค้า หรือการดำเนินการพิธีการศุลกากร จนถึงการให้บริการบรรจุภัณฑ์รวมถึงการจัดการทางด้านการขนส่งครบวงจรและกระบวนการจำแนกแจกจ่ายสินค้าไปยังที่ต่างๆ

ลักษณะของการขนส่งที่ดี
การขนส่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตของมนุษย์และการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น เพื่อให้การขนส่งมี ประสิทธิภาพ ควรมีลักษณะการขนส่งที่ดีดังนี้
1. มีความปลอดภัย ซึ่งในการขนส่งต้องมีระบบการป้องกันการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งที่ทำการขนส่ง
2. มีความรวดเร็วตรงต่อเวลา ทันเวลาตามความต้องการของผู้บริโภค สินค้าบางประเภทมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา เช่น ผลไม้ ดอกไม้ สิ่งมีชีวิต ถ้าขนส่งล่าช้าจะทำให้สินค้าเน่าเสียทำให้ธุรกิจเสียหายได้
3. ประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งการขนส่งถือว่าเป็นต้นทุนประเภทหนึ่งของการประกอบธุรกิจ ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจต้องเลือกการขนส่งที่เหมาะสมและเสียค่าใช้จ่ายต่ำ
4. มีความสะดวกสบาย ผู้ประกอบธุรกิจต้องเลือกวิธีการขนส่งทีเหมาะสมและมีความสะดวกสบายเพื่อการดำเนินธุรกิจมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกวิธีการขนส่ง
- ตัวผลิตภัณฑ์ (ของแข็ง, ของเหลว, มูลค่า) ดูทางกายภาพ
- แหล่งที่ตั้งของตลาดและระยะทาง (ดูเส้นทางการขนส่ง)
- ความเร็ว (ดูค่าระวาง)
- อัตราค่าระวาง (Freight Rate)
- ความน่าเชื่อถือ (Dependability)

รูปแบบของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
1. โดยเรือ เหมาะสมกับการขนส่งคราวละมากๆ ระยะทางไกล ต้นทุนต่ำ ไม่เร่งด่วน ต้องการการวางแผนที่ดี เช่นสินค้าวัตถุดิบ ส่วนประกอบ เครื่องจักร ปัจจุบันนิยมการขนส่งทางเรือระบบคอนเทนเนอร์
2. โดยเครื่องบิน เหมาะสมกับการขนส่งที่ต้องการความเร่งด่วน ปริมาณน้อย ต้นทุนสูง ตอบสนองความ ต้องการผู้บริโภคได้ดี เช่นสินค้า อะไหล่เครื่องจักร สินค้าแฟชั่น ผัก ผลไม้ เครื่องประดับ
3. โดยรถบรรทุก เหมาะสมกับการขนส่งประเทศใกล้เคียง ระยะสั้น ดำเนินการง่าย ส่งมอบรวดเร็วตาม กำหนด เช่น สินค้าอุปโภค บริโภค ส่งไปประเทศพม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย
4. โดยทางรถไฟ เหมาะสมกับการขนส่งประเทศใกล้เคียง ระยะสั้น ต้นทุนต่ำ เช่น ส่งออกนำเข้าด่าน ปาดังเบซาร์ประเทศมาเลเซีย มีเส้นทางรถไฟ กรุงเทพฯ – หาดใหญ่ – ปาดังเบซาร์ – มาเลเซีย เชื่อมสู่สิงคโปร์ โดยขบวนการรถไฟระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่ใช้สำหรับการขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมาก
5. โดยทางท่อ เหมาะสมกับการขนส่งประเทศใกล้เคียง สินค้าเป็นน้ำมัน แก๊ส
6. โดยไปรษณีย์ เหมาะสมกับตัวอย่างสินค้า สะดวก ต้นทุนต่ำ

ขอบข่ายการให้บริการของธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
ธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นได้เพราะผู้ส่งออกและผู้นำเข้าไม่ประสงค์ที่จะเข้ามาดำเนินการ เรื่องการออกสินค้า การส่งสินค้า และการติดต่อเกี่ยวกับเอกสารการส่งออกและนำเข้าเอง เนื่องจากต้องการที่จะมุ่งเน้นในการใช้เวลาของตนในการผลิตสินค้า และการค้าขายสินค้าของตนซึ่งตนเองมีความชำนาญมากกว่าอย่างเต็มที่ด้วยเหตุนี้ธุรกรรมเหล่านี้ จึงได้ถูกมอบหมายมาให้ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศแทน ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจึงได้มีโอกาศเข้าไปให้บริการทั้งด้านผู้ส่งออก และผู้นำเข้าโดยมีธุรกรรมการให้บริการซึ่งสามารถกล่าวโดยละเอียดดังนี้

1. การให้บริการแก่ผู้ส่งออก (ผู้ส่งสินค้า) ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสามารถให้บริการได้ดังนี้
- เลือกเส้นทางตลอดจนรูปแบบการขนส่ง และผู้ขนส่งที่น่าเชื่อถือให้แก่ผู้ส่งออก
- จองระวางเรือให้แก่ผู้ส่งออก
- ส่งสินค้าและออกเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น Forwarders’ Certificate of Receipt และ Forwarders’ Certificate of Transport ฯลฯ ให้แก่ผู้ส่งออก
- จัดแจงเรื่องโกดังเพื่อใช้ในการเก็บสินค้า (ถ้าจำเป็น)
- วัดและชั่งน้ำหนักสินค้า
- ทำการส่งสินค้าไปยังท่าเรือและจัดแจงด้านพิธีการศุลกากร ตลอดจนดำเนินการเรื่องเอกสารต่างๆแก่ ผู้ส่งออกแล้วส่งสินค้าลงเรือ

2. การบริการที่ให้แก่ผู้รับสินค้า (ผู้นำเข้า) ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสามารถดำเนินธุรกรรมให้บริการภายใต้คำแนะนำที่เขาได้รับจากผู้รับสินค้าดังนี้
- ติดตามสินค้าแทนผู้รับสินค้า เมื่อผู้รับสินค้าเป็นผู้รับผิดชอบในการขนสินค้า
- รับและตรวจสอบเอกสารต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งสินค้า
- รับสินค้าจากผู้ส่งสินค้า และชำระค่าระวางบรรทุก
- ดำเนินพิธีการศุลกากรและชำระเงินภาษี ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่างๆ แก่ศุลกากรตลอดจนเจ้าหน้าที่ ของทางการอื่นๆ
- จัดส่งสินค้าที่ผ่านพิธีการศุลกากร
- ช่วยผู้รับสินค้าในการเก็บสินค้าเข้าโกดัง

การบริการของศูนย์บริการนำเข้า-ส่ออกแบบเบ็ดเสร็จ พร้อมที่จะให้บริการด้านการขนส่งทั้งการนำเข้าและส่งออกสินค้า การบริการงานด้านสินค้าและเอกสารการค้าระหว่างประเทศอื่นๆ เช่น การจัดการประกันภัยสินค้า การจัดทำหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate Of Origin) การบรรจุหีบห่อ (Packaging)สินค้า



กำลังต้องการ ทำธุรกิจนำเข้าส่งออก อยู่หรือเปล่า
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บ www.thaitpi.com