วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562
เผยเคล็ดลับการส่งผลไม้ไปประเทศจีน
1. การขออนุญาตเป็นผู้ส่งออกสินค้าของไทย ต้องดำเนินเรื่องขออนุญาตเป็นผู้ส่งออกสินค้ากับกรมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้บัตรประจำตัวผู้ส่งออกไว้ใช้ในการออกหนังสือรับรองและใบอนุญาตต่างๆที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการส่งออกจากประเทศไทย โดยผู้ยื่นคำขอจะต้องเป็นนิติบุคคล (บริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด) ที่มีการจดเลขที่ผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว (มีใบ ภ.พ.20) ซึ่งปัจจุบันผู้ขอสามารถกรอกคำร้องขอมีบัตรประจำตัวผู้ส่งออก ผู้นำเข้าได้ทางเว็บไซต์ http://reg-users.dft.go.th (กดหัวข้อดาวน์โหลด) พร้อมแนบเอกสารเพิ่มเติมตามที่กำหนดและยื่นขอได้ที่กรมการค้าระหว่างประเทศ รายละเอียดเพิ่มติดต่อสำนักบริการการค้าระหว่างประเทศ กรมการค้าระหว่างประเทศ สายด่วน 1385
2. การยื่นเอกสารใบรับรองปลอดโรคพืชจากกรมวิชาการเกษตร เมื่อได้ใบรับการอนุญาตเป็นผู้ส่งออกสินค้าไทยแล้ว การส่งออกสินค้าแต่ละชนิดก็ยังมีขั้นตอนการขออนุญาตส่งออกที่แตกต่างกัน โดยหากเป็นพืชผลทางการเกษตร จำเป็นต้องขอเอกสารเพิ่มเติมประกอบการส่งออกกับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งตามประกาศกรมการค้าระหว่างประเทศเรื่องการกำหนดชนิดหรือประเภทของผักและผลไม้ที่ต้องมีหนังสือรับรองในการส่งออก ระบุให้ผลไม้ที่ส่งออกไปต่างประเทศหากประเทศที่นำเข้านั้นต้องการใบรับรองปลอดโรคพืช สารตกค้าง หรือแมลง ผู้ส่งออกสามารถขอใบรับรองดังกล่าวได้ที่กรมวิชาการเกษตร
3. การเตรียมเอกสารสำหรับใช้ในการนำเข้าไปยังจีน นอกจากการเตรียมเอกสารใบรับรองของไทยเพื่อให้ผลไม้สามารถออกจากประเทศไทยได้อย่างถูกต้องแล้ว เพื่อให้สินค้าสามารถเข้าประเทศจีนได้อย่างถูกต้องทางการจีนก็ได้มีข้อกำหนดด้านสุขอนามัยผลไม้ที่จะนำเข้ามายังจีนที่ผู้นำเข้าจากทุกประเทศต้องปฏิบัติตาม ซึ่งปัจจุบันประเทศจีนโดยหน่วยงาน AQSIQ ( Administration of Quality Supervision, Inspection and Quarantine of the People’s Republic of China 国家质量监督检验检疫总局门户 ) ที่ดูแลด้านสุขอนามัยและการตรวจสอบความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดให้ผลไม้สดสามารถนำเข้าจีนได้โดยต้องขออนุญาตการนำเข้าสินค้าให้เรียบร้อยก่อนทำการส่งสินค้าออก ข้อกำหนดของเอกสารประกอบการนำเข้าจากฝั่งไทยที่ทางการจีนกำหนดนอกจากสอบถามโดยตรงที่หน่วยงาน AQSIQ แล้ว อาจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรประจำกรุงปักกิ่ง ซึ่งมีหน้าที่ติดตามรายละเอียดการนำเข้าโดยตรง ทั้งนี้ เนื่องจากกฏระเบียบการนำเข้าของทางการจีนมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยผู้ส่งออกจำเป็นต้องติดตามกฏระเบียบการนำเข้าผลไม้ของทางการจีนอย่างใกล้ชิด รายละเอียดเพิ่มเติมด้านข้อกำหนดด้านสุขอนามัยที่สำคัญของสาธารณรัฐประชาชนจีน (http://www.thaifruits-online.com/UserFiles/File/file/Health.pdf)
สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรประจำกรุงปักกิ่ง (ติดต่อ Office of Agricutural Affairs, Royal Thai Embassy, No.11, Jian Guo Men Wai, Chaoyang District, Beijing 100600, P.R.China E-mail : moac_bj@hotmail.com Tel : 8610 65323955 Fax : 8610 65323950)
ทั้งนี้ ในการส่งออกผลไม้จากไทยเพื่อนำเข้าจีน ผู้นำเข้าจีนจะต้องมีเอกสารใบอนุญาตการนำเข้าผลไม้เพื่อยื่นขอนำเข้าด้วย สำหรับผู้ส่งออกที่ยังไม่เคยมีลูกค้าหรือผู้นำเข้าในจีนมาก่อน อาจเริ่มจากหาผู้ซื้อที่เป็นผู้นำเข้าจีน หรือผู้นำเข้าจีนที่มีใบอนุญาตการนำเข้าผลไม้ที่รับจ้างนำเข้าสินค้าเพื่อใช้เป็นผู้ยื่นขอการนำเข้าผลไม้มายังจีนได้
4. พิธีการศุลกากรจากกรมศุลกากรส่งออกสินค้าจากไทย เมื่อสินค้าได้รับการรับรองการส่งออก และมีใบอนุญาตใช้เพื่อเตรียมพร้อมในการนำเข้าผ่านหน่วยงานจีนแล้ว เพื่อให้สินค้าออกจากประเทศไทยอย่างถูกต้องยังจำเป็นต้องเตรียมเอกสารที่สำคัญ เช่น เอกสารใบขนส่งสินค้าขาออก (กศก.101) เอกสารใบราคาสินค้า Invoice (ตามจำนวนของใบขนขาออกที่ยื่นทั้งหมด) เอกสาร Packing list แสดงรายละเอียดการบรรจุหีบห่อ และเอกสารอื่นๆตามที่กรมศุลกากรต้องการ เป็นต้น โดยในขั้นตอนพิธีการศุลกากรนี้อาจมีขั้นตอนและมีการเตรียมเอกสารค่อนข้างมาก ดังนั้นส่วนผู้ส่งออกส่วนใหญ่จะใช้บริการของบริษัทชิปปิ้งที่มีบัตรผ่านศุลกากรเพื่อดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรส่งออกแทนในนามของบริษัท ซึ่งคุณสุทธิชัยอาจเลือกใช้บริษัทที่มีประสบการณ์พิธีการศุลกากรขาออก โดยสามารถเลือกบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือได้จากรายชื่อในเว็บไซต์สมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทย www.ctat.or.th ได้
5. การใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีนำเข้าในจีนจากข้อตกลงการค้า FTA China-ASEAN เนื่องจากจีนและอาเซียนได้มีการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศ FTA China-ASEAN ซึ่งส่งผลให้สินค้าบางรายการที่ส่งออกจากไทยไปจีนไม่ถูกเก็บภาษีนำเข้า ณ ประเทศจีน ซึ่งรวมถึงผลไม้สดจำนวน 23 ชนิดที่อนุญาตให้นำเข้าไปจีนด้วย ผู้ส่งออกที่ต้องการใช้สิทธิลดภาษีนำเข้านี้จะต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ฟอร์มอี (Form E) ซึ่งสามารถยื่นขอได้ที่กรมการค้าต่างประเทศของไทย หอการค้าแห่งประเทศ หรือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อใช้ประกอบการลดภาษีนำเข้าไปยังประเทศจีนเหลือร้อยละ 0 ได้ หรือตามที่รายการข้อตกลงการลดภาษีกำหนดไว้ได้ อย่างไรก็ดีสินค้าที่ใช้สิทธิประโยชน์เพื่อลดภาษีการนำเข้านั้น เมื่อยังจะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าการนำเข้าอีกด้วย
6. ความรู้เบื้องต้นด้านการค้าระหว่างประเทศ นอกจากขั้นตอนการขออนุญาตส่งออก การเตรียมเอกสารส่งออก การดำเนินพิธีการศุลกากรแล้ว ผู้ส่งออกควรมีความรู้เบื้องต้นด้านการค้าระหว่างประเทศที่จำเป็นอื่นๆ อีกเช่น การคำนวณต้นทุนและการตั้งราคาสินค้าเพื่อการส่งออก วิธีการชำระเงินและเงื่อนไข การชำระเงิน การทำสัญญาการค้าระหว่างประเทศ ข้อกำหนดในการส่งมอบสินค้า (Incoterm) การขนส่งทางทะเล ทางอากาศ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เปิดคอร์สด้านการส่งออก เช่น หลักสูตรความรู้เบื้องต้นการส่งออก, หลักสูตรผู้ส่งออกอัจฉริยะ Smart Exporter โดยสถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (http://application.ditp.go.th/training_institute/index.html) และหน่วยงานอื่นๆ เช่น กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Exim Bank) เป็นต้น
7. ความรู้เบื้องต้นที่ควรมีสำหรับการค้าขายกับประเทศจีน นอกจากความรู้เบื้องต้นที่ผู้ส่งออกควรมีแล้ว ผู้ส่งออกควรมีความรู้เจาะลึกในทักษะที่ควรมีเพื่อค้าขายกับประเทศจีนอีกด้วย เช่น ความรู้ภาษาจีนเบื้องต้น ความเข้าใจอุปนิสัยทัศนคติการทำธุรกิจของคนจีนในยุคปัจจุบัน วัฒนธรรมทางการค้า การเจรจาการค้ากับชาวจีน การสื่อสารด้วยภาษาจีนเบื้องต้น การค้นหาข้อมูลทางการค้าภาษาจีน พฤติกรรมผู้บริโภคจีน ตลอดจนข้อควรระวังในการค้าขายกับจีน เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีนทั้ง 9 แห่งได้จัดทำจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและรวบรวมไว้ในเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน www.thaibizchina.com
8. การตลาดเพื่อการหาลูกค้าในต่างประเทศ/การหาผู้นำเข้าผลไม้ในจีน หลังจากที่มีพื้นฐานความรู้ด้านการส่งออกแล้วสิ่งต่อไปคือการหาลูกค้าในต่างประเทศ ก่อนที่จะส่งออกมายังต่างประเทศอาจพิจารณาเลือกตลาดที่จะส่งออกว่าควรส่งออกไปประเทศไหน หากเลือกส่งออกมายังประเทศจีนก็ควรเลือกว่าจะส่งออกมายังประเทศจีนในพื้นที่ใด ซึ่งจีนในแต่ละพื้นที่มีรสนิยมความชอบสินค้าแตกต่างกัน กำลังซื้อต่างกัน สภาพตลาดสินค้าในแต่ละพื้นที่ก็ย่อมแตกต่างกัน ผู้ส่งออกควรทำความเข้าใจกับแต่ละพื้นที่ที่จะส่งออก ตลอดจนศึกษาข้อมูลการตลาดของสินค้าในแต่ละพื้นที่ก่อนที่จะเลือกเมืองที่จะส่งออกสินค้าไป ผู้ส่งออกอาจจำเป็นต้องเดินทางมาสำรวจตลาด ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค เสาะหาช่องทางการเข้าตลาดในการขายสินค้าด้วยตัวเอง เป็นต้น
ลิงค์: https://www.thaitpi.com/article_view.php?__lang=tha&atid=180
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางทะเล
การขนส่งสินค้าทางทะเล
การขนส่งสินค้าทางทะเล เป็นส่วนประกอบที่สําคัญส่วนหนึ่งของ ระบบการค้าระหว่างประเทศ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต เพราะเป็นเพียงการขนส่งชนิดเดียวที่ขนสินค้าได้คราวละมากๆ และค่าระวางมีราคาถูกกว่าการขนส่งในรูปแบบอื่น ๆ การขนส่งสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกของไทยเป็นการขนส่งทางทะเลเป็นส่วนใหญ่ดังนั้น การขนส่งสินค้าทางทะเลจึงเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันทางการค้าในตลาดโลก ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนําเข้าและส่งออกสินค้าจึงควรจะศึกษาและทําความเข้าใจในองค์ประกอบต่างๆ ที่สําคัญเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางทะเล ดังนี้คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าทางทะเล
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าทางทะเล ได้แก่
- เจ้าของเรือ (Ship Owner)
- ผู้เช่าเรือ (Ship Charterer)
- ตัวแทนสายเดินเรือ และตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Shipping Agent & Freight Forwarder)
- ผู้ส่งสินค้า (Shipper or Exporter)
- ผู้รับตราส่ง (Consignee)
- ผู้รับสินค้า (Notify Party)
ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือได้แก่
1. บริษัทเรือหรือตัวแทนสายเดินเรือ
2. Sea Freight Forwarder
บทบาทและหน้าที่ของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางทะเล มีดังนี้
A. ตัวแทนสายเดินเรือ (Ship Agent)
ตัวแทนสายเดินเรือคือผู้รับมอบอํานาจจากเจ้าของเรือ ให้เป็นผู้ดําเนินการแทนเจ้าของเรือ ณ.เมืองท่าต้นทางและเมืองท่าปลายทาง ตัวแทนสายเดินเรือมีหน้าที่โดยทั่วไป ดังต่อไปนี้
• จัดหาระวางบรรทุกให้แก่ผู้นําเข้าและผู้ส่งออก
• ออกใบตราส่งสินค้าให้แก่ผู้ส่งออก
• ออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้แก่ผู้นําเข้า
• SEA FREIGHT
การขนส่งทาง เรือได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากค่าใช้จ่ายถูก เหมาะกับสินค้าปริมาณมากหรือมีขนาดใหญ่ แต่ข้อจำกัดคือเรื่องเวลา ลูกค้าหลายรายได้รับผลกระทบจากปัญหาล่าช้า ปกติทุกสายเรือมีตารางเดินเรือที่แน่นอน แต่ในบางครั้งอาจเปลี่ยนแปลง สาเหตุจากสภาพอากาศ สินค้าแน่นตามช่วงฤดูกาล หรืออื่นๆ ซึ่งอยู่เหนือการควบคุม ผู้ส่งสินค้าควรวางแผนใช้ชัดเจน และควรเผื่อเวลาเอาไว้ด้วย
ประเภทการบริการ
1. CONTAINER
• LCL คือแบบไม่เต็มตู้ ในกรณีที่ผู้ส่งมีสินค้าปริมาณน้อยค่า Freight คิดเป็น USD/CBM(ลูกบาศก์เมตร)
• FCL คือแบบเหมาตู้ สินค้าเป็นของผู้ส่งเพียงรายเดียว ค่า FREIGHT คิดเป็น USD/CONT.ขนาดตู้แบ่งเป็น 20 FT STD, 40 FT STD ,40 FT HQ
• FRRFER เป็นตู้ที่ติดตั้งเครื่องทำความเย็น ใช้บรรจุอาหารและสินค้าที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิ
ความสำคัญของการขนส่งทางทะเล
• ก่อให้เกิดกิจการที่ต่อเนื่อง เช่น การรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ(Freight Forwarder Agent)
• ตัวแทนออกของ (Customs Broker)
• การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodel Transport)
• กิจการโลจิสติดส์(Logistics Service)
ระบบการขนส่งทางทะเล ประกอบด้วย
• การขนส่งสินค้าจากท่าเรือหนึ่ง ไปยังอีกท่าเรือหนึ่ง
• กิจกรรมบนท่าเรือที่เกี่ยวข้อง
• การขนถ่ายสินค้า ขึ้น-ลง จากเรือเดินทะเล
• การคัดแยก และบรรจุสินค้า
• การเคลื่อนย้ายสินค้า
• การเก็บรักษาสินค้า
• การขนส่งที่เชื่อมโยง เพื่อเคลื่อนย้ายสินค้าจากท่าเรือไปยังผู้รับสินค้า หรือ กลับกัน
• กิจการที่เกี่ยวเนื่อง
• กิจการอู่เรือ
• กิจการท่าเรือบก(Inland Container Depot,ICD)
• กิจการรับจัดขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ(freight Forwarder Agent)
• กิจการตัวแทนออกของ(Customs Broker)
• กิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ(Multimodal Transport)
• กิจการบริการด้านโลจิสติคส์(Logistics Service)
รูปแบบการบริการขนส่งทางทะเล
• บริการประจำเส้นทาง(Liner Service) มีเส้นทาง ตารางเดินเรือที่แน่นอน มีการเก็บค่าระวางที่แน่นอน
• บริการไม่ประจำเส้นทาง หรือ เรือ จร (Tramp Service) ขึ้นอยู่กับผู้ว่าจ้าง หรือ เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างผู้ว่าจ้างกับ ผู้รับจ้าง
ประเภทเรือสินค้า (VESSEL)
• เรือสินค้าประเภท กอง(Bulk Carrier)
• เรือสินค้าประเภท หีบห่อ (Break-Bulk Vessels)
• เรือสินค้าบรรจุตู้ (Container Vessels)
• เรือสินค้า RO-RO ใช้ระบบลากแคร่บรรจุสินค้า ขึ้นลงจากเรือ อาจเป็นตู่คอนเทนเนอร์ เครื่องจักร รถยนต์ ก็ได้
การขนส่งระบบตู้คอนเทนเนอร์(Container )โดย การขนส่งชนิดนี้เป็นวิวัตนาการของการขนส่งทางทะเลที่พัฒนาขึ้นจากในอดีต เนื่องด้วยความจำเป็นของสภาพสินค้าและค่าใช้จ่ายในการขนส่งมีข้อดี คือสะดวกในการยกขน หรือเคลื่อนย้ายสินค้า
• จากเรือถึงฝั่ง
• ภายใน ท่าเรือ
• จากท่าเรือไปยังผู้รับสินค้า
• ใช้ระบบขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เช่น รถ ไป รถไฟ / รถไฟไปเรือ / เรือ ไป รถ
• ประหยัดค่าแรงงาน
ประเภทตู้คอนเทนเนอร์
• ขนาดมาตรฐาน กว้าง 8 ฟุต สูง 8 ฟุต 6 นิ้ว
• ยาว 20 ฟุต (ตู้สั้น) และ 40 ฟุต ตู้ยาว มีขนาด ยาว 45 ฟุต ด้วย(เฉพาะบางสายเรือ)
• ตู้ควบคุมอุณหภูมิ(REEFER)
• เป็นตู้เย็นเคลื่อนที่ มีฉนวนหุ้ม หรือมีระบบกันความร้อน
• ตู้พิเศษ
• ออกแบบให้ใช้กับสินค้าที่มีลักษณะ แปลกไปจากปรกติ เช่น บรรจุก๊าซ ของเหลว เปิด หลังคา หรือ เปิดข้าง เป็นต้น
• CONTAINER SERVICE
ลิงค์: https://www.thaitpi.com/article_view.php?&__lang=tha&atid=173
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)